5 สิ่งควรระวัง/เข้าใจ หากคุณติดตั้ง CCTV

5 สิ่งควรระวัง/เข้าใจ หากคุณติดตั้ง CCTV

หากจะพูดถึงระบบรักษาความปลอดภัยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวันนี้ การติดตั้ง CCTV น่าจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่ทุกสถานที่ติดตั้งและใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นภายในพื้นที่ร้านค้า อาคารสำนักงาน หรือแม้กระทั่งบ้านหรือพื้นที่ส่วนบุคคล

แต่ นอกเหนือจากความปลอดภัยที่จะได้จากการใช้ CCTV แล้ว เราก็มี ความเสี่ยง ที่ต้องเข้าใจภายใต้ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) เช่นกัน

1. กล้อง CCTV เก็บข้อมูลส่วนบุคคล ( Personal Identifiable Information)

อย่างที่ทราบข้อมูลที่ได้รับการบันทึกไว้ในระบบ CCTV คือ ภาพวีดีโอ ซึ่งอาจติดส่วนของรูปภาพ หรือใบหน้าบุคคลที่เข้ามาในสถานที่ดังกล่าว และภายใต้นิยาม ของ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รูปถ่ายจัดได้ว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล (รูปถ่าย = ระบุตัวตนบุคคลคนหนึ่งได้) โดยที่ไม่จำเป็นว่าเราจะรู้จัก หรือรู้ชื่อของบุคคลคนนั้นหรือไม่ ซึ่งการที่เราเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลนี้ ย่อมมีภาระหน้าที่ในการจัดการตาม PDPA อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

2. แล้วหากเราติดตั้ง CCTV ต้องมีการจัดการอย่างไร ?

ถึงแม้ว่ากล้อง CCTV จะเป็นการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล แต่เราก็ไม่ต้องตกใจไปหากมีการใช้งาน เพราะหากเราเข้าใจหลักการจัดการง่ายๆดังต่อไปนี้แล้ว ก็สามารถทำได้ตามปกติ

  1. แจ้งให้บุคคลที่จะเข้ามาในสถานที่ทราบ ว่าเรามีการบันทึก และติดตั้งระบบ CCTV โดยติดประกาศที่เห็นได้ชัดเจน
  2. ประกาศนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งระบุเกี่ยวกับการเก็บ บันทึก และการใช้ข้อมูลที่บันทึกผ่าน CCTV ตามรายละเอียดที่ พรบ.กำหนด
ตัวอย่างประกาศนโยบายคุ้มครอบข้อมูลส่วนบุคคล (สามารถทำให้สวยงามและเป็นมิตรกับลูกค้าได้)

3. หากเราไม่มีการประกาศแจ้งให้ถูกต้อง จะมีความผิดไหม?

ตอบอย่างสั้นๆ คุณอาจจะมีโทษทางปกครอง ซึ่งบุคคลใดๆที่เข้ามาในสถานที่เราและพบว่าเราไม่ได้มีการแจ้งขอความยินยอม หรือประกาศนโยบายอย่างชัดเจน ก็สามารถไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ ซึ่งโทษปกครองนี้มีโทษปรับสูงสุดถึงหลักล้านบาทเลยทีเดียว!

4. การขอความยินยอม (consent) ในการเก็บข้อมูล CCTV ต้องทำอย่างไรอย่างไร ?

หลักการภายใต้ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การใช้กล้องวงจรปิด CCTV ในสถานที่สาธารณะโดยไม่ละเมิดสิทธิ์ของผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ (visitors) สามารถใช้ได้ตามฐานประโยชน์อันชอบธรรม (Legitimate Interest) ซึ่งตามหลักแล้วเรา ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต (consent) แต่เราจะต้องมีการแจ้งนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล (CCTV Privacy Policy หรือบางคนเรียกว่า CCTV Privacy Notice) ให้กับผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ทราบ

สิ่งที่เราสามารถทำได้คือการติดประกาศแจ้งเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลของ CCTV เพื่อให้บุคคลที่จะเดินเข้ามาเห็นได้อย่างชัดเจน (เช่น ติดประกาศหน้าทางเข้าทุกประตูเป็นต้น)โดยถือว่า เมื่อบุคคลดังกล่าวเดินเข้ามาภายในสถานที่นั้นๆ ย่อมคาดหมายได้ว่า บุคคลดังกล่าวเห็นประกาศแจ้งนโยบาย แล้ว ซึ่งเราสามารถติดแค่คำแจ้งโดยย่อ และแจ้งให้ไปอ่านนโยบายฉบับเต็มได้ที่ต่างๆที่เรากำหนดไว้ เช่น Website, QR Code, บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

5. แล้วถ้าเราติด CCTV ในพื้นที่บ้านตัวเองต้องกังวลเรื่อง PDPA ไหม?

คำตอบคือ ไม่ต้องกังวล หากเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตน เนื่องจากการเก็บเพื่อประโยชน์ดังกล่าวได้รับการยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของพรบ.

สุดท้ายนี้หากคุณไม่มั่นใจว่าจะสร้างนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการใช้ CCTV อย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถให้ EasyPDPA ช่วยสร้างเอกสารนี้ให้ท่านได้ ลองใช้ได้ที่นี่เลย

PDPA

เริ่มต้นการเป็นเจ้าหน้าที่ DPO ง่าย ๆ ให้ EasyPDPA แนะนำแพ็กเกจ PDPA ที่ตอบโจทย์กับความต้องการของคุณมากที่สุดให้ ไม่ว่าจะเป็น

  • Privacy Policy: แพ็ครวบรวมเอกสาร PDPA ทุกด้าน สำหรับบริษัทหรือองค์กรที่ต้องการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เริ่มต้นเพียง 1,290 บาท
  • DPO Working Document Package: แพ็ครวบรวมเอกสาร PDPA ทุกด้าน สำหรับเจ้าหน้าที่ DPO โดยเฉพาะ เริ่มต้นเพียง 4,990 บาท
  • CCTV Privacy Policy แพ็ครวบรวมเอกสาร PDPA สำหรับการเก็บภาพถ่ายบุคคลผ่านระบบ CCTV เริ่มต้นเพียง 599 บาท

บทความที่เกี่ยวข้อง